- HOME
- PRODUCTS
- 2-Wire Transmitter
- 4-Wire Transmitter
- 4-Wire Transmitter (2 Outputs)
- Power Transducer
- Digital Panelmeter
- Big Digital Display (100 mm. Height)
- A.C. Panel Meter
- Data Logger
- Data Acquisition, MODBUS I/O Module (RS-232, RS-485)
- Data Communications
- Wireless Module
- 2-Wire Remote
- Touch Screen
- Calibrator
- Power Protective Relay
- Alarm Module
- Control Module
- PLC Analog Input-Output
- Accessories
- APPLICATIONS
- SUPPORTS
- CONTACT US
อุปกรณ์เครื่องมือวัดแบบ 4-20 มิลลิแอมป์
อุปกรณ์เครื่องมือวัดแบบ 4-20 มิลลิแอมป์ สามารถเขียนเป็นวงจรกระแสอย่างง่ายได้ดังรูปที่ 2 ซึ่งจะมีแหล่งจ่ายกระแสตามอุดมคติของนอร์ตันซึ่งประกอบไปด้วยแหล่งจ่ายกระแส (ISIGNAL) และความต้านทาน (RSIGNAL) มีความต้านทานของสายสัญญาณ (RLINE) และแหล่งกำเนิดสัญญาณรบกวน (NNOISE) สำหรับใช้แทนสัญญาณรบกวนที่ถูกเหนี่ยวนำมาจากส่วนอื่นๆ สำหรับวงจรกระแสในรูปที่ 2 จะมีความต้านทาน (RLOAD) ต่ออนุกรมกับวงจรกระแสนี้ 2 ค่า คือ ความต้านทานของชุดอินพุตของระบบควบคุม (RCONTROLLER) และความต้านทานของชุดแสดงผล (RDISPLAY) โดยวงจรนี้จะถูกจ่ายพลังงานด้วยแหล่งจ่ายแรงดันที่ 24 VDC
รูปที่ 2 วงจรกระแสอย่างง่าย
- สัญญาณแรงดันที่โหลดใดๆจะมีค่าเท่ากับ (ISIGNAL) * (RLOAD) ซึ่งจะเป็นอิสระต่อแหล่งจ่ายแรงดันและความต้านทานของสายไฟซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงความยาวได้ในการติดตั้ง
- สัญญาณรบกวนที่โหลดใดๆจะมีค่าลดลงด้วยตัวแปรดังนี้ (RLOAD) / (SUM RLOAD + RLINE + RSIGNAL) ดังตัวอย่างที่แสดงต่อไปนี้ เมื่อมีแรงดันสัญญาณรบกวนเกิดขึ้นเป็น 15 โวลต์ จะทำให้เกิดแรงดันที่อินพุตของชุดควบคุมเป็น 0.75 มิลลิโวลต์ 500 (15 / 10E6 +10 + 250 + 500) และสัญญาณแรงดันต็มย่าน (Full Scale) ที่อินพุตของระบบจะมีค่าเป็น 10 โวลต์ (20 มิลลิโวลต์ * 500 โอห์ม) และสัญญาณแรงดันจะมีค่ารบกวน 0.75 มิลลิโวลต์ จะทำให้เกิดความผิดพลาดที่อินพุตของระบบควบคุมเป็น 0.075 %
- สามารถต่อโหลดความต้านทานได้หลายตัวโดยการต่ออนุกรมเข้าไปกับวงจรกระแส เช่น ระบบควบคุม, ชุดแสดงผลหรือบันทึกข้อมูล เป็นต้น แต่เมื่อทำการต่อโหลดหลายตัวเข้าไปในวงจร จะเป็นผลทำให้แรงดันที่ขั้วของอุปกรณ์การวัดมีค่าลดง จนเป็นสาเหตุทำให้อุปกรณ์การวัดไม่สามารถทำงานได้ ดังตัวอย่างในรูปที่ 2 แรงดันที่ขั้วของอุปกรณ์การวัดที่สัญญาณกระแสเป็น 20 มิลลิแอมป์ จะมีค่าเท่ากับ 24 โวลต์ - 760 โอห์ม x 20 มิลลิแอมป์ = 24 - 15.2 = 8.8 โวลต์ ดังนั้นอุปกรณ์การวัดที่นำมาใช้งานจะต้องทำงานได้ที่แรงดันที่ขั้วต่ำสุด (Minimum Working Voltage) เป็น 8.8 โวลต์ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วอุปกรณ์การวัดจะไม่สามารถทำงานได้ที่สัญญาณกระแสเต็มย่านการวัดหรือไม่สามารถอ่านค่าการวัดได้เต็มย่านที่ต้องการ
- ต่อไปนี้เป็นการแสดงตัวอย่างรายละเอียดวงจรภายในพื้นฐานของอุปกรณ์การวัดแบบ 4-20 มิลลิแอมป์ ดังแสดงในรูปที่ 3
รูปที่ 3 วงจรภายในพื้นฐานของอุปกรณ์การวัดแบบ 4-20 มิลลิแอมป์
จากรูปที่ 3 สามารถแสดงรายละเอียดของวงจรภายในพื้นฐานของแต่ละส่วนได้ดังนี้
- วงจรอินพุตจะใช้ในการเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์ชนิดต่างๆ เช่น เทอร์โมคับเปิ้ล, RTD, แหล่งกำเนิดสัญญาณแรงดันหรือกระแส เป็นต้น ในส่วนนี้จะมีวงจรในการปรับความเป็นเชิงเส้น (Linearization) และฟังก์ชั่นการคำนวณต่างๆ
- แหล่งจ่ายพลังงานจะใช้สำหรับจ่ายพลังงานที่ต้องการภายในอุปกรณ์
- วงจรเอาต์พุตจะใช้วงจรในการแปลงสัญญาณเพื่อเป็นแหล่งกำเนิดสัญญาณ 4-20 มิลลิแอมป์ ให้กับลูปกระแสที่จุดเอาต์พุตของอุปกรณ์การวัด