ลักษณะการเชื่อมต่อสัญญาณ 4 - 20 mA

 

ลักษณะการเชื่อมต่อสัญญาณ 4 - 20 mA


ข้อดีของสัญญาณ 4 - 20 mA

1. สัญญาณลูปสามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ระยะไกลได้โดยใช้พลังงานจากคอนโทรลเลอร์ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟ ผู้ผลิตเครื่องมือวัดจำนวนมากผลิตเซ็นเซอร์ 4 - 20 mA ซึ่งเป็น “ขับเคลื่อนลูป”

2. ความแม่นยำของสัญญาณไม่ได้รับผลกระทบจากแรงดันตกในสายไฟที่เชื่อมต่อถึงกัน

3. ประหยัดงบประมาณในการเดินสาย เนื่องจากสัญญาณ 4 - 20 mA สามารถรส่งทั้งสัญญาณและไฟเลี้ยงเครื่องมือวัดไปด้วยกันโดยใช้สายไฟเพียงแค่ 2 เส้น ซึ่งปกติจะต้องใช้สายไฟถึง 4 เส้น (ไฟเลี้ยง 2 เส้น และสัญญาณ 2 เส้น)

4. Loop powered “I ถึง P” (กระแสถึงความดัน) คอนเวอร์เตอร์สามารถแปลงสัญญาณ 4 - 20 mA เป็นเอาท์พุทนิวเมติก 3 - 15 psi สำหรับวาล์วควบคุม ตัวอย่างดังรูปข้างบน

5. ที่ต้องใช้สัญญาณ 4 - 20 mA เพราะว่าถ้าเกิดสัญญาณที่ได้รับเป็น “0 mA” ฝั่งจอแสดงผลจะได้ทราบว่า “สายสัญญาณอาจจะขาด” หรือ “อุปกรณ์เครื่องมือวัดอาจจะมีปัญหา” เป็นต้น

 

Articles Order: 
0.1
Articles Datasheet: 

การเชื่อมต่อสัญญาณ 4 - 20 mA แบบ 2-Wire

        การต่อลักษณะนี้ถูกออกแบบมาเพื่อลดต้นทุนของการเดินสายไฟโดยสามารถรส่งทั้งสัญญาณ Output และไฟเลี้ยงเครื่องมือวัดไปด้วยกันโดยใช้สายไฟเพียงแค่ 2 เส้น ซึ่งจะเป็นลักษณะการต่อที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่เคยชิน

การเชื่อมต่อสัญญาณ 4 - 20 mA แบบ 3-Wire

        การต่อลักษณะนี้เป็นการต่อโดยใช้สาย Ground ร่วมกันระหว่างไฟเลี้ยงและสัญญาณ Output โดยจะใช้สายไฟในการต่อ 3 เส้น

การเชื่อมต่อสัญญาณ 4 - 20 mA แบบ 4-Wire

        การต่อลักษณะนี้จะเป็นการต่อที่ผู้ใช้ทั่วไปคุ้นชินและง่ายที่สุด เพราะสัญญาณ Output และไฟเลี้ยงจะถูกแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ตามภาพตัวอย่างด้านล่าง ถึงจะเป็นการต่อที่ง่ายก็จริงแต่ก็ทำให้เราต้องเพิ่มงบประมาณในการซื้อสายไฟมากขึ้นเพราะต้องใช้สายไฟถึง 4 เส้น แต่ถึงกระนั้นการต่อแบบนี้ก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ในเมืองไทย เพราะจะเกิดความผิดพลาดในการเชื่อมต่อได้น้อยที่สุดนั่นเอง

 

Credit: medium.com/maestro19