การสื่อสารไร้สาย (Wireless Communication)

การสื่อสารไร้สาย

(Wireless Communication)


         การสื่อสารไร้สาย (Wireless Communication) เป็นการ รับ/ส่ง ข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง (Point-to-Point) หรือมากกว่า 1 จุด (Point-to-Multipoint) ผ่านคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency) แทนสายทองแดงหรือสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ซึ่งจะใช้ย่านความถี่ 2.4 GHz (ตามที่ ก.ส.ธ.ช. ได้กำหนดเอาไว้)

      ซึ่งย่านความถี่ 2.4 GHz จะเป็นย่านที่อุกรณ์ Wireless ทั่วๆไปใช้งาน เช่น Notebook, Walkie Talkie เป็นต้น โดยอุปกรณ์ต่างๆจะมีช่องสัญญาณที่ใช้งานช่วง 1 - 16 (โดยประมาณ)

Articles Order: 
1
Articles Datasheet: 

Antenna: Grid Type

        Antenna: Grid Type เป็นเสาอากาศแบบทิศทาง (Grid Type) ใช้สำหรับเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สายภายนอกอาคารแบบ Point-to-Point เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สาย จากอาคารสู่อาคารและต้องการควบคุมทิศทางของสัญญาณ

Antenna: Omni Type

เสาอากาศและลักษณะการกระจายของสัญญาณ

        Antenna: Omni Type เป็นเสาอากาศแบบรอบทิศทาง (Omni Type) ใช้สำหรับเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สายภายนอกอาคารแบบ Point-to-Multipoint เหมาะสำหรับการกระจายสัญญาณรอบทิศทาง หรือการทำจุดกระจายสัญญาณไร้สายสาธารณะ (Wi-Fi Hot Spot)

Antenna: Panel Type

        Antenna: Panel Type เป็นเสาอากาศแบบทิศทาง (Panel Type) ใช้สำหรับเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไรสายภายนอกอาคารแบบ Point-to-Multipoint เหมาะสำหรับเชื่อมต่อระหว่างอาคารที่ตั้งกระจายตัวอยาในบริเวณเดียวกันแต่ระยะทางไม่ห่างกันมากนัก และต้องการควบคุมทิศทางของสัญญาณไร้สาย

Antenna: Sector Type

        Antenna: Sector Type เป็นเสาอากาศแบบทิศทาง (Sector Type) ใช้สำหรับต่อระบบเครือข่ายไร้สายภายนอกอาคารแบบ Point-to-Multipoint และต้องการควบคุมทิศทางสัญญาณในแนวระนาบ เหมาะสำหรับการเชื่อมต่ออาคารที่กระจายตัวอยู่ในบริเวณเดียวกัน และอาคารส่วนใหญ่มีความสูงใกล้เคียงกัน

Antenna: Yagi Type

        Antenna: Yagi Type เป็นเสาอากาศแบบทิศทาง (Yagi Type) ใช้สำหรับเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สายภายนอกอาคารแบบ Point-to-Point เหมาะสำหรับการใช้งานกับ Client ที่ต้องการเชื่อมต่อกับ Access Point ในระยะไกลโดยเน้นการกระจายสัญญาณเป็นเส้นตรง

ข้อควรรู้ก่อนติดตั้งเสาอากาศ

ข้อควรรู้ก่อนติดตั้งเสาอากาศ


1. อุปกรณ์ต้นทางและปลายทางควรมีคุณสมบัติทางเทคนิคเหมือนกัน เช่น กำลังขยาย, ความไวในการรับสัญญาณต้องเท่ากัน หรือใช้อุปกรณ์รุ่นเดียวกันในการใช้งาน

2. ต้นทางและปลายทางควรใช้เสาอากาศลักษณะเดียวกัน

3. ต้นทางและปลายทางควรหันทิศทางของเสาอากาศที่ทำให้เกิดกำลังขยายและความไวในการรับสัญญาณที่สูงสุดเข้าหากัน

ตัวอย่างการติดตั้งเสาอากาศ

ตัวอย่างการติดตั้งเสาอากาศ

จากรูปจะเป็นตัวอย่างการติดตั้งเสาอากาศให้กับอุปกรณ์ Remote Switch (RDIO2100) ของทาง บริษัท Wisco

การติดตั้งโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง

การติดตั้งโดยที่ความสูงแตกต่างกัน

การติดตั้งโดยอาศัย Repeater (RP29) ช่วยในการขยายสัญญาณ

ในกรณีที่อุปกรณ์ต้นทางและปลายทางสงสัญญาณไม่ถึงหรือมีสิ่งกีดขวาง

 

Credit: Optimus (Thailand)